เสียงเพลงที่บรรเลงความดังกำลังพอดี วิวต้นไม้ผ่านไป…ต้นแล้วต้นเล่า วิ่งผ่านไปตามความเร็วของรถ ผมกำลังขับรถเพื่อจุดมุ่งหมายคือ บ้าน และแน่นอนว่ามันใช้เวลานานหลายชั่วโมง มีเสียงเพลงและวิวทิวทัศน์ช่วยให้การเดินทางมีสีสัน อาจมีแวะจิบกาแฟข้างทางบ้างเป็นการผ่อนคลายอิริยาบถ การกลับบ้านครั้งนี้เพียงเพื่อจะเอาสิ่งของบ้างอย่างจากบ้านหลังเดิมที่อาศัยอยู่ในวัยเด็ก บ้านหลังนี้ไม่เหมือนเดิมนับจากการย้ายออกไปเรียนต่อมหาวิทยาลัย เพราะหลังจากนั้นก็ถูกจับจองพื้นที่จากน้อง… ราวกับว่าห้องพักนี้เป็นห้องพักย่านดังใจกลางกรุงเลยที่เดียว และแน่นอนว่าการกลับบ้านในแต่ละครั้งก็ต้องมาอ้อนวอนขออาศัยนอน ใครเป็นลูกคนเดียวของไม่เข้าใจอารมณ์นี้หรอกจริงมั้ย… แหม่ๆ มันช่างน่าเศร้า 555
ขณะที่กำลังเก็บของบางส่วน และบางส่วนก็ตัดใจทิ้งมันไป ช่วงที่กำลังรื้อของผมก็พบ “กล่องเหล็ก” ที่คุ้นตาเห็นปุ๊บก็ทำให้ความทรงจำเก่าๆ ในวัยเด็ก หรือที่ฝรั่งต่างชาติเรียกมันว่า “แคปซูลกาลเวลา” มีทั้งจดหมายที่ไม่เคยส่ง 555 ไม่ต้องบอกว่าทำไม ของที่มีคนให้มา รูปถ่ายจากกล้องฟิล์มกับเพื่อนๆ วัยหัวเกรียน ม้วนเทปคาสเซ็ทที่เป็นเพลงที่ชอบที่อัดมาจากหลายๆ ม้วน และแน่นอนว่าก็ต้องมีของเล่นชิ้นโปรด ชิ้นที่เก็บเงินใส่กระปุกเอาไปซื้อมา แน่นอนว่าต้องเป็น “ยานอวกาศไขลาน” สำหรับเด็กต่างจังหวัดที่ไม่ได้มีห้างหรือแหล่งร้านของเล่นมากมายให้เลือกนัก ซึ่งการจะได้ของเล่นแบบยานอวกาศไขลานมันก็จะมีแค่ร้านขายของเล่นในตลาดแถวบ้าน และแน่นอนว่ามันก็จะมีของเล่นหลากหลายแนว ตั้งแต่เครื่องวีดีโอเกมส์ ตลับเกมส์ รถบังคับวิทยุ ตัวการ์ตูนพลาสติก หรือแม้กระทั้งตุ๊กตา
อ้าว!… ลืมทักทายกันเลยครับ สวัสดีครับ ชาว bbblogr.com พบกันอีกเป็นครั้งที่ 3 สำหรับ how-to-illustrate ในตอนนี้ผมขอเสนอการนำเอาความทรงจำเก่าๆ มาถ่ายทอดออกมาเป็นงานภาพประกอบ จากความทรงจำเก่าเก็บสู่งานภาพประกอบกลายมาเป็น concept ใน how-to-illustrate ตอนที่ 3 นี้ครับ อ้าว!… งั้นมาเริ่มลุยกันเลยดีกว่าครับ
เริ่ม
how-to-illustrate ตอนที่ 3 ขอเริ่มจากพระเอกในความทรงจำเก่าๆ ของเราเลยก็แล้วกัน นั้นก็คือ “ยานอวกาศไขลาน” กับการผจญภัย แต่ไม่ว่าจะกว้างใหญ่แค่ไหนจินตนาการก็อาจจะอยู่ในที่เล็กๆ อย่างกล่องเหล็กเล็กๆ รวมกับของอย่างอื่นในลังกระดาษ และนั้นก็คือ concept ภาพ “แคปซูลกาลเวลา” ของคอลัมน์ how-to-illustrate ในตอนนี้ครับ
Concept
จาก concept ของ how-to-illustrate ตอนที่ 3 นี้ผมได้นำเอาเรื่องราวของความทรงจำเก่าๆ กับเจ้ายานอวกาศไขลานและการผจญภัยในอวกาศกว้างใหญ่ ภายในพื้นที่เล็กๆ อย่างกล่องเหล็กแคปซูลกาลเวลา กล่องเล็กๆ กลายมาเป็นภาพประกอบ งั้นก็มาเตรียมอุปกรณ์กันเลยครับ
อุปกรณ์
อุปกรณ์ที่ผมใช้ในการวาดภาพครั้งนี้ประกอบด้วย
1. ดินสอ lead-holder ของ Kita-Boshi
2. สีน้ำ Shinhan PWC
3. พู่กัน Escoda Ultimo เบอร์ 0, เบอร์ 2 และเบอร์ 8
4. จานสีแบบพกพา FOME ผมชอบแบบหลุมเยอะๆ หน่อย
5. กระดาษ Stillman & Birn : Beta 270 แกรม สีขาวแบบ cold-pressed
ลงมือ
เริ่มจากกล่องเหล็กขนาดเล็กที่มีพื้นที่ขนาดใหญ่อย่างอวกาศที่กว้างใหญ่ ภายใต้รูปทรงกล่องสี่เหลี่ยมธรรมดา
ต่อด้วยยานอวกาศและลวดลายของยาน ที่กำลังพุ่งทยานจากโลกไปสู่ในอวกาศ
แต่งเติมรายละเอียดของโลก ด้วยการเพิ่มก้อนเมฆที่ยานอวกาศพุ่งผ่านชั้นบรรยากาศของโลก และดวงจันทร์ที่เป็นบริวารของโลก
จากนั้นก็ตกแต่งในส่วนอื่นเพิ่มเติม อย่างให้ดวงดาวให้อวกาศ พระอาทิตย์ และก็ตามด้วยลายบนฝากล่องเหล็กด้านบน
ภาพร่างในกระดาษเสร็จแล้ว ต่อไปก็ถึงขั้นตอนการลงสีแล้วครับ เตรียมอุปกรณ์เลยซิครับ พู่กัน ถังน้ำ ผ้าเช็ดพู่กัน กล่องสีน้ำ จากนั้นก็… ลุย!
กวาดสายตาไปทั่วๆ กระดาษ ผมลังเลอยู่นิดหน่อยว่าจะลงสีอะไรดีก่อนหน่า… งั้นก็เริ่มจาก โลกของเรา ก่อนเลยละกันนะครับ แหม่นึกว่าวิชาเรียนตอนมัธยม 555
จากพื้นดินสู่แผ่นน้ำมหาสมุทร แล้วขึ้นไปลงก้อนเมฆบนท้องฟ้า
คราวนี้ก็มาถึงยานอวกาศของเราแล้ว เริ่มลงสีที่ตัวเครื่องก่อนเลยแล้วกัน แล้วก็ตามด้วยส่วนต่างๆ ของยาน
เมื่อเสร็จในส่วนของตัวยานแล้ว ก็ต่อด้วยส่วนของไอพ่นสีแดงยาวๆ โดยการลงสีแดงส้มไว้ให้ชุ้มๆ รอเวลานิดหนึ่งให้สีกำลังหมาดๆ จากนั้นก็ตามด้วยสีแดงเข้ม เพื่อให้เกิดเฉดสีที่มีความเข้มอ่อนต่างกัน
ในที่สุดตัวยานอวกาศของเราก็เสร็จ
จากนั้นเรามาเริ่มในรายละเอียดส่วนอื่นๆ กันต่อเลยก็แล้วกันนะครับ โดยที่ผมจะเริ่มด้วยพระอาทิตย์ ดาวเสาร์ พระจันทร์ และดาวน้อยๆ ที่มีในภาพ
สุดท้ายก็เหลือแค่พื้นที่ในอวกาศ ซึ่งแน่นอนว่าการจะใช้สีดำมันคงจะมืดมิด เหมือนท้องฟ้าในตอนกลางคืน แต่จริงๆ แล้ว ในตอนกลางคืนนั้นมีสีสันมากมายแต่แค่มันไม่มีแสงให้มองเห็น
Tip
ผมใช้สีน้ำเงิน สีน้ำเงินเข้ม และสีม่วง 3 เฉดสีในอวกาศดูมีมิติหลายสีสัน ผสมสีรอไว้เลยนะครับ จากนั้นก็ไหลลงจากสีน้ำเงิน ตามด้วยสีม่วง แล้วก็ตามด้วยสีน้ำเงินเข้ม ลงขนาดที่ตัวสียังชุ้มๆ อยู่เพื่อให้มันไหลผสมกัน ลงจนเต็มพื้นที่ของงาน แล้วในส่วนของสีที่ใกล้ๆ กับดาวต่างๆ ผมก็แอบใส่สีเหลืองรอบๆ เพราะเวลาเรามองดวงดาวบนท้องฟ้าเวลากลางคืนนั้น ดวงดาวแลดูเป็นจุดสว่างๆ เล็กๆ เต็มท้องฟ้านั้นเองครับ
และสุดท้าย ในท้ายที่สุดก็เก็บรายละเอียดในส่วนที่เหลืออย่างฝากล่อง และส่วนอื่นๆ เผื่อที่ให้งานนั้นเสร็จตามความพอใจของเรานะครับ
ภาพ “แคปซูลกาลเวลา” ของคอลัมน์ how-to-illustrate ในตอนนี้ก็เป็นอันเสร็จแล้วนะครับ จากความทรงจำเก่าๆ ในกล่องเหล็กเล็กๆ ของเราตอนที่ยังเป็นเด็ก เราสามารถนำเอามาถ่ายทอดจินตนาการเปลี่ยนมันให้กลายเป็นงานภาพประกอบเก็บไว้ เพื่อวันหนึ่งเรากลับมามองงานชิ้นนี้แล้วมันจะทำให้เรานึกย้อนไปกับความสนุกในวัยเด็กของเราได้นะครับ ผมหวังว่ามันจะเป็นอย่างนั้น…
ก่อนจากกันนะครับ การวาดภาพประกอบบางครั้งมันจำเป็นที่จะต้องมีเรื่องราว เพื่อนำมาวาด ซึ่งหลายๆ ครั้งผมไม่รู้จะวาดอะไร สมองว่างเปล่า คิดอะไรไม่ออก ลองมองหาสิ่งที่อยู่รอบตัว เพราะว่าสิ่งของบางอย่างที่อยู่ใกล้ๆ ตัวเรานั้นอาจนำมาซึ่งเรื่องราวที่เราสามารถนำเอามาให้เพื่อถ่ายทอดเป็นงานภาพประกอบได้เหมือนกันนะครับ ผมหวังว่าชาว bbblogr.com จะได้ไอเดียเพื่อลองวาดภาพประกอบกันนะครับ ^^