สวัสดีค่ะ เคียเองค่ะ ไม่ได้เจอกัน นานนนนนนนนนนนนนนนนนนนนน เลยนะคะ /หัวเราะแห้งๆ เฝือๆ หลบสายตาพี่ปอนด์
กลับมาแล้วค่ะ คราวนี้จะตั้งใจเขียน หันมองอีกทีคุณหลุยส์เขาเขียนไปหลายตอนแล้วระหว่างที่เราไม่อยู่ โอย สนุกๆ ทั้งนั้นด้วย
เข้าเรื่องกันเลยดีกว่า ไม่อยากอารัมภบทนาน ฮิๆ
ช่วงหลายเดือนที่ผ่านมา เรานึกไม่ออกเกี่ยวกับหัวข้อที่จะเขียน เพราะมัวแต่พยายามคิดเรื่องที่ตัวเองไม่ถนัด พยายามหาหัวข้อที่แตกต่างจากคนอื่น จนมาคิดได้(เอาเร็วๆ นี้) ว่า อื้ม ไม่ใช่ว่าเราควรจะสอนอะไรที่ง่ายต่อการเข้าใจและนำไปประยุกต์ใช้หรอกเรอะ? เราเลยกลับมาโฟกัสที่จุดนี้ได้
เมื่อก่อนงานสีน้ำของเราลงน้ำหนักเท่ากันทุกภาพ
/พลีชีพด้วยการแปะงานตอน ม.4
โอเค เราจะไม่พูดถึงเส้น 55555555 อย่าา อย่าขุด เมื่อก่อนงานเราตลกแต่เราก็ชอบนะ
เราเคยคิดว่า อยากลงสีให้สวย พยายามแทรกสีลงไปเยอะๆ ให้งานมันดูสดๆ แล้วแต่งในคอมให้มันจัดกว่าเดิม อื้ม…
เราเอาภาพนี้มา Redraw อีกครั้งหลังจากหัดลงสีน้ำไปสักปีสองปีค่ะ
ไม่ๆๆ อย่าโฟกัสที่เส้น 5555
ที่เราพยายามจะสื่อคือ ภาพสีน้ำ ไม่ได้ประกอบไปด้วยสีสดแจ่มจัดทั้งภาพเท่านั้น ยังมีองค์ประกอบที่ทำให้ภาพนั้นดูมีเรื่องราวน่าสนใจ ช่วยบอกเวลา ช่วยคุมบรรยากาศ
นั่นก็คือ…
แสง และ เงา
แสงและเงาเป็นสิ่งบ่งบอกมิติให้กับภาพ
โดยไม่ต้องพึ่งการเอาสีจัดๆ เทรวมลงไป … แม้ว่าศิลปินจะลงสีภาพด้วยสีโทนเดียว (Monotone) ผู้รับชมก็จะเข้าใจความกว้าง ความลึก ความโค้งมนหรือเหลี่ยมมุมได้
สำหรับวันนี้ เราจะมาพูดถึงเรื่องของ Hard Light (แสงจ้า) และ Shade (เงาของแสง)
Hard Light เป็นการคุมแสงเงาอย่างง่าย ง่ายกว่าการลงคลุมทั้งบรรยากาศที่มีโทนสีใกล้เคียงกัน เพราะสามารถลงเงาด้วยสีเข้มแบบตัดได้โดยไม่ต้องเบลนด์สี
ตัวอย่าง
เป็นเทคนิคที่ใช้ประโยชน์จากเหลี่ยมมุมของวัตถุ เช่นตึกเหลี่ยม บ้าน กล่อง ถ้าเริ่มฝึกจากฉากเหล่านี้ ต่อไปจะประยุกต์ใช้กับการวาดคนได้ง่ายขึ้น
อย่าเพิ่งกลัว ไม่มีอะไรยากถ้าเราเริ่มลงมือแล้ว
เพื่อพิสูจน์ว่ามันง่าย เราจะวาดภาพนี้โดยใช้เทคนิคแค่ Flat Wash หรือการฉาบเรียบ เป็นส่วนใหญ่ (80%ของภาพ)
อุปกรณ์เหมือนเดิมค่ะ
- กระดาษสีน้ำที่อุ้มน้ำได้ดี ที่ใช้ในโพสนี้คือการดาษ Khadi ค่ะ
- สีน้ำ
- พู่กัน
- ถ้วยใส่น้ำ
- ดินสอ ยางลบไว้ร่างภาพ
คุณผู้อ่านสามารถฝึกลงตามภาพนี้ได้ หรือเข้าไปในเว็บ http://www.photos4artists.co.uk/ เว็บนี้จะรวมภาพ Landscape สวยๆ แจกศิลปินที่ไม่มีแบบวาดภาพให้ฟรีๆ ค่ะ
อันดับแรก ได้แบบแล้ว เราก็มาร่างภาพกันก่อน
ขอโทษที่ไม่มีภาพเส้นเปล่าให้ดู เส้นเราจางมากๆ ถ่ายยังไงก็ไม่ติด เริ่มลงสีกันเลยดีกว่า
Flat Wash เทคนิคฉาบสีเรียบ สีเดียวโดดๆ ให้เรียบเสมอกันทั้งภาพ เคยสอนไว้ใน ลิ้งนี้ ลองเข้าไปอ่านกันนะคะ
ใช้พู่กันเบอร์ใหญ่สุดจุ่มสีให้ฉ่ำๆ
ฉาบสีในแต่ละพื้นที่ของภาพคร่าวๆ ให้เป็นสีพื้น ไม่ต้องกังวลว่าลงแบบนี้ไปแล้วจะไม่สวย ลงไปเรื่อยๆ แล้วก็จะออกมาดีเอง
พยายามลงให้ครบทั้งภาพ ตรงไหนที่ดูขาวก็ใช้สีที่ใกล้เคียงลงไป เช่นเหลืองอ่อน ฟ้า เทา อย่าให้มีส่วนที่ขาว ภาพจะดูโบ๋
บรรยากาศรอบข้างค่ะ ใช้พู่กันเบอร์10 ทำพุ่มไม้รอบๆ ใครที่ไม่ถนัดทำแต่แรกก็เก็บไว้ทำตอนท้ายนะคะ
เราชอบลงตั้งแต่แรกๆ เพาะมันมีผลกับบรรยากาศโดยรวม เราจะได้รู้ว่า อืม ภาพนี้เราจะลงให้ดูอุ่นหรือเย็น เหลืองหรือเขียว หรือม่วง
เมื่อครอบคลุมสีพื้นทั้งภาพแล้ว ก็เริ่มลงแสงเงากันค่ะ
ก่อนอื่นให้กลับไปดูแบบของภาพ ภาพนี้แสงเข้าทางขวา เงาออกทางซ้ายเนอะ
ก่อนอื่นเราต้องตกลงกับตัวเองให้ได้ว่าจะใช้เงาสีอะไร ม่วง? น้ำเงิน? น้ำตาล?
คำตอบคือ อะไรก็ได้ที่ไม่ใช่สีดำ (สำหรับเรานะ)
เงาสีดำนั้นเข้มไร้มิติเกินไป
เราจะผสมสีเข้ม เช่น น้ำเงินกับน้ำตาล ออกมาสีกรมท่าตุ่นๆ เป็นใช้ได้
ใช้พู่กันเบอร์ 10 ลงส่วนที่เข้มที่สุดก่อน ตรงนี้ค่อนข้างอาศัยความกล้า ไม่ต้องกลัวนะคะ เงาที่ยังไม่สมบูรณ์มันจะดูแปลกๆ ทำให้เราไม่กล้าลงต่อ แนะนำให้ใจแข็งลงสีที่ตัดกันไปเลยค่ะ
ต่อไปตรงวัตถุทรงกระบอก ไม่มีเหลี่ยมมุม ใช้ปาดเรียบไม่ได้ ต้องไล่สีค่ะ จะยากกว่า Flat Wash นิดหน่อย
วิธีลงอยู่ในลิ้งค์เดียวกับ Flat wash ด้านบนนะ
รอให้แห้งก่อนค่อยทำต่อ เทียบรูปจริงไปด้วย ดูทิศทางของแสง ลงสีเงา
ตรงสุสานก็เหมือนกันค่ะ
จากนั้นก็เก็บรายละเอียด ลงสีเงาพาดไปด้านข้าง (เราใช้สีเดียวกับสีเงาบนตึกเลยค่ะ)
ใช้พู่กันหัวเล็กสุดจุ่มสี ค่อยๆ เขียนตรงบานหน้าต่าง อิฐ ดีเทลเล็กๆ น้อยๆ ค่อยๆ เก็บไปจนกว่าจะพอใจ
เสร็จแล้วล่ะ
(เครื่องสแกนเสียค่ะ ใช้กล้องถ่ายเลยปรับความละเอียดได้แค่นี้ 5555 ไว้สแกนใหม่ดีๆ)
สังเกตว่า ภาพจะดูมีมิติชัดเจนขึ้นจากแสงเงาที่เราลง มีใกล้ ไกล
ไม่ยากใช่ไหมคะ แสงเงาที่ใช้ Flat Wash เป็นหลัก แถมใช้สีอยู่ไม่กี่สีเท่านั้นเอง
ลองเอาไปประยุกต์ใช้ดูนะคะ
ตัวอย่างเพิ่มเติม
สเตนกลาสกับตะบองเพชรบ้านเพื่อนค่ะ
Hard Light โทนเย็น
ภาพนี้เป็นภาพย้อนแสง ที่ข้างนอกสว่างมากๆ วัตถุทั้งหมดของภาพจึงลงสีด้วยระดับ Shade
ตอนที่เราลง เราลงสีปกติไปก่อน แล้ว Glaze ทับด้วยสีน้ำเงินจางๆ ค่ะ
ตรงผิวเนื้อของผู้หญิงก็เว้นขอบๆ ให้เห็นส่วนที่โดนแสงนิดหน่อย นอกนั้นใจกล้าๆ ถมเงาเธอได้เลยค่ะ
Hard Light โทนอุ่น
ยังไม่ถึงกับโทนร้อนแบบตอนเย็น แสงที่ใช้คุมโทนภาพนี้เป็นสีเหลือง ส่วนเงาจะเป็นน้ำตาลผสมม่วง (ดูออกไหมนะ)
แสงตกกระทบตัด ไม่เบลนด์ ให้เห็นว่ามันสว่างจริงๆ
ลองฝึกดูนะคะ
สุดท้ายนี้จะบอกว่า กลับมาแล้วค่ะ จากนี้จะพยายามเขียนให้บ่อยขึ้นนะคะ แล้วเจอกันใหม่โพสหน้านะคะ
เลิฟยอลค่ะ
-kia 2016