How to Sketch #1 : ผลาญเวลาอย่างมีสไตล์กับการสเก็ตช์ในร้านกาแฟ

in How to Sketch by Louis on 09 Oct 2015

ครับ, สวัสดีครับ หลุยส์ครับ

วันนี้จะมาเขียนคอลัมน์ฮาวทูการสเก็ตช์ภาพเล่นๆ ไว้สำหรับเวลาคุณๆ ท่านๆไปนั่งรอเพื่อน ไปจิบกาแฟเพลินๆ หรือกระทั่งไม่มีอะไรทำสิ้นดี จะนอนดูทีวีอยู่บ้านเฉยๆก็กลัวว่าตัวจะเปื่อยไปกับโซฟาหนานุ่ม  การไปนั่งทอดหุ่ยที่ร้านกาแฟเนี่ย น่าจะเป็นทางออกให้กับพี่ๆได้บ้าง (สำหรับคนไม่ดื่มกาแฟลองเปลี่ยนเป็นร้านชาหรือร้านขนมก็ได้นะฮะ)

ไม่พูดพร่ำทำเพลง  ขอพื้นที่ให้สมุดกับเครื่องเขียนและสีน้ำตลับเล็กๆในกระเป๋าคุณซักเล็กน้อย แล้วไปกันครับ เราไปผลาญเวลาอย่างมีสไตล์กันดีกว่า 5555

 

อนึ่ง. หลายคนอาจจะเคยเห็นงานของผมกันมาบ้างจากเพจเล็กๆ ของผมเอง Louis Sketcher
สำหรับคนที่เพิ่งรู้จักกัน งานของผมจะเน้นเป็นงานเส้นและสีน้ำครับ …ซึ่งเป็นสีน้ำที่ค่อนข้างจะไร้ทฤษฎีซะเหลือเกิน เพราะมันเกิดจากการครูพักลักจำกับฝึกเองไปเรื่อยๆอ่ะ แต่พี่ปอนด์แกก็บอกว่าช่างเหมาะกับที่นี่มาก 555555  ดังนั้นถ้ามันจะไม่มีขั้นตอนอะไรเป๊ะๆตามหลักทฤษฎี ก็ขอให้เข้าใจนะจ๊ะ  สำคัญคือให้ผู้อ่านทุกท่านได้กระตุ้นความอยากวาดในตัว ได้เดินไปจับดินสอปากกา และเขียนตามไปกับเราอย่างเพลิดเพลินจำเริญใจ เท่านี้ผมก็ปลื้มปริ่มน้ำตาไหลเป็นน้ำตกไนแองการาแล้วล่ะจ่ะ


สำหรับผู้ที่จะเริ่มวาดแล้วกำลังสงสัยว่า

เห้ย จะเริ่มยังไงดีล่ะคุณ!?

ลองเข้าไปอ่านตามนี้ก่อนเลยจ่ะ…

อ่ะ เข้าเรื่อง 5555555555555
(ผู้อ่าน : ….ในที่สุดดดดดดดดด)


ผมรู้ว่าหลังจากที่ได้พิมพ์คำว่า “ไม่พูดพร่ำทำเพลง” ไปแล้วก็ควรจะเริ่มเนื้อหาได้ซักที

ก็ทำไมอ่ะะะะะะะ ก็มาใหม่อ่ะะะะะะะ เป็นคนเอาแต่ใจอ่ะะะะะะะ
5555555555555 ล้อเล่นนะตัว

 

ทีนี้ ร้านที่เราจะวาดกันคือออ ร้าน Dialogue Coffee and Gallery ร้านน่ารักๆ บรรยากาศดีๆ ชั้นบนเป็นแกลอรี่ศิลปะ สวยๆ ก็แวะไปโดนกันได้ที่ถนนพระสุเมรุ ใกล้ๆ หอศิลป์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ตรงถนนราชดำเนินนะคุณ

อ่ะ ก่อนที่จะวาด มาดูกันก่อนว่าเราใช้อุปกรณ์อะไรบ้าง

IMG_8706

 

หลักๆเลยก็มี

  1. สมุดสเก็ตช์ ในที่นี้ใช้ของ Monologue ขนาดและความหนากำลังดี
  2. ปากกาหมึกดำ เอาที่กันน้ำนะ ผมใช้ของ Rotring หัวปากกาขนาด 0.3mm
  3. ดินสอ, ยางลบ อะไรก็ได้ง่ายๆ
  4. สีน้ำซักตลับนึงกับพู่กันอันเล็กอันนึง อันใหญ่อันนึง ไม่ได้ถ่ายรูปมา ลืม

นอกจากนี้ยังมีบางอันที่ไม่มีในรูปนี้ แต่เดี๋ยวโผล่มาหลังๆ เช่น ปากกามิลค์กี้ ที่เขียนออกมาเป็นเส้นขาวๆอ่ะ

lamune-1

ซึ่งจริงๆ แล้วในการสเก็ตช์ภาพนั้นเราสามารถจะใช้อุปกรณ์อะไรก็ได้นะที่เราถนัด แต่ถ้าไปนอกสถานที่ก็ควรเน้นที่พกพาง่ายหน่อย ไม่ว่าจะเป็นปากกา พู่กัน จานสีหรือจะเป็นสมุด หรือจะเป็นอย่างของชุดนี้ที่เน้นการพกพาง่ายเป็นหลัก คุณสามารถหาได้จาก ร้านละมุน สยามสแควร์ซอย 10 เข้าไปที่เดียวได้อุปกรณ์ครบเลย แต่เงินอยู่ไม่ครบนะ 555555555 ส่วนในชุดนี่ผมแอบติดใจพู่กัน Escoda กับสมุด Khadi นะ รอพี่ปอนด์รีวิวให้อ่านอีกทีละกัน


 

นั่นแหละ

 

IMG_8699

และนี่คือมุมที่เราจะวาดดดดดดดด
(ถ่ายติดเพื่อนมาด้วย ขอ’นุญาติเซนเซอร์หน้านิส)

Tips

  • เวลาเลือกมุมที่จะวาดในร้านกาแฟ ลองเลือกนั่งตรงมุมๆของร้าน เพื่อจะได้มองเห็นร้านได้ทั่วถึง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ถ้าเห็นเคาท์เตอร์ด้วยจะดีมาก เพราะส่วนใหญ่เคาท์เตอร์บาร์และBackdropเนี่ยแหละจะเป็นจุดเด่นของร้าน วาดมายังไงก็สวยนะ
  • ในขั้นแรกเราอยากเน้นให้ฝึกการใช้ “ตา” ในการเลือกมุมมอง คือสังเคราะห์ สิ่งที่ตาเห็นมาเป็นภาพอยู่บนสมุดให้ได้ แต่!!!!!! ถ้าทำไม่ได้ยังไง เราก็มีตัวช่วยให้คุณณณณ นั่นคือโทรศัพท์มือถือที่สามารถถ่ายรูป Panoramaได้ มันจะช่วยรวบมุมมองยาวๆให้กลายเป็นภาพๆเดียว และทำให้เห็นเส้น Perspective ได้ชัดเจน (ตามภาพตัวอย่าง)
  • ป.ล.ข้อที่แล้วอย่าใช้เยอะ เดี๋ยวจะติด5555 ทางที่ดีฝึกใช้สายตาและมือให้สัมพันธ์และแม่นยำดีกว่าเนอะ ไอการจะออกไปวาดข้างนอกทั้งทีแล้วมัวแต่ดูภาพในโทรศัพท์ก็ดูแปลกๆเนอะ ฮ่าๆๆ

 

ซึ่งในคอลัมน์นี้ เราจะวาดให้ออกมาตามภาพตัวอย่างเลยนะครับ เพื่อให้ผู้อ่านได้เข้าใจมุมมองและขั้นตอนตามกัน …ที่ต้องบอกไว้ก่อน เพราะสำหรับการออกวาด On Location เนี่ย มันไม่มีเส้นกรอบของภาพให้เราเห็นเหมือนกับวาดจากภาพถ่ายครับ

 


1.หาจุดอ้างอิง

IMG_8708

เค้าบอกว่าการวาดรูปก็เหมือนกับการออกกำลังกายแหละครับ ต้องมีซ้อมมืออะไรกันบ้าง ถ้าร้างลาไปนาน จะกลับมาวาดอีกทีก็ต้องปัดฝุ่นกันหน่อย

นี่ก็เหมือนกัน ถ้าคุณๆยังไม่มั่นใจที่จะเขียนลงสมุดจริงๆเลย ลองเขียนเป็น Thumbnail เล็กๆดูก่อน หนึ่งคือเพื่อซ้อมมือก่อนวาดของจริง และสองคือร่างเพื่อดูว่าเราสามารถเก็บภาพ Scene ที่เราเห็นให้อยู่ภายในสมุดเราได้แค่ไหน

สำหรับข้อสองในที่นี้ก็เพื่อศึกษาโครงสร้างหลักของภาพนั่นเอง ซึ่งถ้าสงสัยว่าไอโครงสร้างภาพเนี่ยจะรู้ไปทำแง่งขิงอะไร? ก็เพื่อจะได้มีจุดอ้างอิงในการวาดนั่นแหละฮะคุณ เหมือนในรูปข้างบนเนี๊ย

หมายเลข 1 : จุดอ้างอิงแรก ก็คือเส้นกึ่งกลางของภาพ

หมายเลข 2 : เสาภายในร้าน สังเกตว่าจะอยู่ทางซ้ายของเส้นกึ่งกลางภาพ คือถ้าเราวาดๆไปแล้วไอเสาเนี่ยอยู่กลางภาพหรือค่อนไปทางขวาเนี่ย แปลว่าเบี้ยวแล้วแหละ 5555

หมายเลข 3 : ระดับของหัวคนที่อยู่ข้างหน้าจะอยู่สูงประมาณ 2ใน 3ของภาพ

หมายเลข 4 : ระดับของหัวคนทางขวา สูงประมาณกึ่งกลางภาพ

 

พอเราได้ตำแหน่งและสเกลขององค์ประกอบหลักๆของภาพ ก็จะทำให้คุณมั่นใจได้ว่าภาพที่เราเขียนก็จะค่อนข้างเป๊ะแล้วแหละฮะคุณ

01a

อ่ะ ลองมาเทียบดูกับภาพจริงๆอีกทีนะ


2.ร่างภาพด้วยดินสอ

04

โบราณกล่าวไว้

เดินทางหมื่นลี้เริ่มด้วยก้าวแรก

นั่นแหละฮะ  ซึ่งมันจะยากก็ตรงนี้แหละคู้ณณ  ขั้นตอนนี้คือขั้นตอนที่สำคัญที่สุดขั้นตอนนึงในการวาดภาพเลย(สำหรับคนที่ต้องการความเป๊ะมาก) คือการร่างตำแหน่งและความสูงขององค์ประกอบหลักๆที่พูดถึงตะกี๊ลงหน้ากระดาษจริง ข้อสังเกตในขั้นตอนนี้คือ

  • ด้วยการที่ผมวาดลงสมุดหน้าคู่ เราก็เลยจะมีเส้นกึ่งกลางของภาพไว้เช็คระยะ, ตำแหน่งอยู่ตลอด 
  • สังเกตสัดส่วนของภาพที่จะวาดเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าแนวนอน แต่สมุดที่เราใช้เป็นสี่เหลี่ยมใกล้ๆจะจตุรัส เราเลยเหลือพื้นที่บนๆไว้สำหรับเขียนโลโก้ร้าน, วาดแก้วกาแฟ-ขนมเล็กๆ หรือเขียนอะไรลงไปแทน

04a

ถ้าติดกระดุมพลาดตั้งแต่เม็ดแรก เม็ดต่อๆมาก็จะผิดทั้งหมด (คมป่ะ 55555)

ตอนที่เริ่มวาด แนะนำให้ใส่ใจกับความถูกต้องของสเกลและสัดส่วนของตัวแรกๆไว้ให้มากๆครับ เอาให้ใกล้เคียงที่สุด ไม่งั้นถ้าเราวาดเบี้ยวตั้งแต่แรกและยังเบี้ยวไปอีกเรื่อยๆ พื้นที่กระดาษจะไม่พอเอานะ

อย่างภาพนี้ ผมเริ่มจากวาดไอเพื่อนผมทางซ้ายนี่ก่อน จากนั้นก็ไล่ไปเก้าอี้ตัวเล็กๆข้างหลัง และเสาตรงเกือบกลางภาพ ให้ตำแหน่งขนาดใกล้เคียงจริงที่สุด ถ้าตำแหน่งของที่กล่าวมาตรงแล้ว ที่เหลือก็สบายแล้วครับ


3.ตัดเส้นด้วยปากกา

05

เวลาตัดเส้น ก็เริ่มจากสิ่งที่อยู่ข้างหน้าก่อน
โดยใช้ปากกา Rotring 0.3 ที่บอกอ่ะ

06

ซูมมมมดูรายละเอียดเส้น
สังเกตพวกนี้

  • ลายไม้บนโต๊ะ
  • เสื้อแขนยาวที่ถกขึ้น

ลองเอาไปใช้กันได้

IMG_8713

การลงน้ำหนักส่วนผม ก็คือใช้เส้นเหมือนเขียนหญ้า แล้วเขียนไปตามทางกะโหลก แต่อย่าให้ดำปื๊ดดไปเลย100% เหลือพื้นที่ขาวๆไว้นิดนึง เหมือนผมที่โดนแสง

เทคนิคนี้ไม่ได้ใช้กับการเขียนผมอย่างเดียวนะฮะ ใช้กับการลงน้ำหนักส่วนอื่นๆก็ได้

08

ไล่ตัดเส้นไปทางขวาเรื่อยๆ

สังเกตว่าเสาหรือชั้นวางของที่เขียน ก็ไม่จำเป็นต้องเขียนให้ตรงเป๊ะๆก็ได้นะคุณ เขียนเอาที่เราสบายใจดีกว่า จะเบี้ยวก็ช่างมันเนอะ

ที่บอกนี่ไม่ไช่เพราะผมเขียนเบี้ยวเองแล้วเอามาอ้างนะ 555555555

 

ที่เหลือ พวกกรอบรูปหรือหนังสือบนชั้นก็เหมือนการเขียนรูปทรงสี่เหลี่ยมทั่วๆไปฮะ

09

ซูมมมมมม ดูการตัดเส้นทางขวา

สังเกตๆ

  • รอยยับเสื้อ ขีดบางๆเร็วๆแค่นี้พอ ที่เหลือเราไว้ไปทำในส่วนการลงสีน้ำจ่ะ
  • ของตรงชั้นวางของนั่นเขียนนัวๆไปก็ได้ ไม่มีใครรู้หรอกว่ามีกี่เล่ม 55555
  • หลักการนัวเส้นคือ นำแพทเทิร์นของรูปทรงส่วนนั้นๆมาใช้ซ้ำไปเรื่อยๆ เช่น หนังสือมีรูปทรงเป็นสี่เหลี่ยม เวลาเขียนกองหนังสือเราก็เขียนเส้นสี่เหลี่ยมซ้ำไปซ้ำมา ทับกันบ้าง ไปเรื่อยๆ ตามภาพบน
  • สิ่งที่สำคัญมากๆเวลาเขียนเอฟวี่ติงจิงกะเบล คือ “ความหนา” ครับ เสา, โต๊ะ, ขาโต๊ะ, ขาเก้าอี้, หนังสือ ทุกอย่างมีความหนาหมด เวลาเขียนอย่าลืมตรงนี้ด้วยนะฮะ

10

เขียนระยะกลางของภาพ

เริ่มดูมีอะไรขึ้นมามั่งแล้วแมะ  อีกนิดๆ จะตัดเส้นเสร็จละ

11

เขียนส่วนฝ้าของร้าน ใส่โคมไฟเล็กๆ
ส่วนระยะหลังของภาพ อันนี้ผมเปลี่ยนมาใช้ปากกาหัว 0.1mm  จะได้เขียนรายละเอียดได้ครบๆ พวกคนในระยะหลังงี้ ขวดไวน์ไรงี้ฮะ

สังเกตตรงเสื้อของผู้หญิงข้างหลังครับ ก็ใช้วิธีลงน้ำหนักเหมือนที่ลงเส้นผมน่ะแหละ

 

ชวิ้งงงงงง เท่านี้ก็ตัดเส้นเสร็จละ

12-line

เพิ่งจบไปพาร์ทใหญ่ๆของรูป ยังเหลือการลงสีน้ำอีกชุดใหญ่
สังเกตว่าในช่วงขั้นตอนแรก อย่างการหาจุดอ้างอิง การร่างภาพ จนถึงการตัดเส้นแรกๆ การอธิบายจะยุ่บยั่บมากๆ พอมาขั้นตอนหลังๆนี่ไม่ค่อยมีคำอธิบายอะไรเลย นั่นก็เพราะ “วิธีการ”วาดทั้งหมดทั้งปวง นั้นมันจบตั้งแต่รูปแรกๆแล้วล่ะครับ ที่เหลือคือการทำซ้ำจนชำนาญ ผมใช้คำนี้นะ วาดจนรู้ธรรมชาติของเส้น คือการฝึกวาดซ้ำไปเรื่อยๆให้เซนส์มันแหลมคมจนรู้ว่าเขียนคนยังไง เขียนโต๊ะยังไง เขียนอาคารยังไง อะไรประมาณนี้ เปรียบเทียบก็เหมือนที่นักดนตรีสามารถอิมโพรไวส์ได้อย่างลื่นไหลน่ะแหละตัวเธอ

 

เพราะฉะนั้น ใครที่ยังเขียนไม่ได้ อย่าเพิ่งท้อนะครับ อย่าเพิ่งเลิกเขียน บางที อีก 10เส้นที่คุณจะขีดต่อไปข้างหน้า คุณอาจจะจับจุดอะไรได้ก็เป็นได้ 🙂
จำไว้ครับเป็นสเก็ตเชอร์ ห้ามเหนื่อย ห้ามท้อ ห้ามล้อผมว่าไอแว่น(ไม่เกี่ยว) 5555
เดี๋ยวให้ไปพักดื้มน้ำปัสสาวะกันแป๊บนึง แล้วกลับมาดูเรื่องสีน้ำกันต่อนะคุณ


4.ลงสีน้ำ

อาววละ

มาถึงพาร์ทที่หลายคนรอคอย
นั่นคือการลงสียยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยย์

 

สิ่งที่คุณควรรู้ก่อนลงสีก็คือกระดาษเจ้ากรรมนั้นหนากี่แกรม มันซึมน้ำดีมั้ย อะไรพวกนี้ ซึ่งถามว่า แล้วจะรู้ได้ยังไง?
กลับไปดูที่ >>>นี่ย์<<< ได้เลอ น้องเคียเขียนไว้ละเอียด ครอบคลุมดีแล้ว
เออ แถมไปดูตอนที่ 2 ของน้องเค้าด้วยนะ เผื่อเวลาเจอคำว่า  wash หรือ glaze (เคลือบ) หรือบลาๆ ที่เป็นศัพท์แสงของการทำสีน้ำจะได้ไม่งงนะ

 

แลดูขี้เกียจป่ะ เอะอะไล่กลับไปอ่านคอลัมน์คนอื่นอ่ะ 555555555555
ซึ่งถามว่าถ้าโดนด่าว่าขี้เกียจแล้วแคร์มั้ย บอกเลยไม่แคลร์!!!!
ก็ทำไมอ่ะะะะะะะ ก็มาใหม่อ่ะะะะะะะ เป็นคนเอาแต่ใจอ่ะะะะะะะ
5555555555555 ล้อเล่นนะตัว
(ผู้อ่าน : เสียเวลาชิบเปงไม่ได้อะไรกลับมาเลย…)

13a

ขั้นตอนแรกนะคุณณ
ลงน้ำในส่วนพื้นร้าน ดูจากภาพสีของพื้นจะเป็นสีเทาออกน้ำตาลๆ แล้วมีน้ำเงินเข้มๆผสมอยู่ เลยจะลงแบบเปียกให้สีที่ว่ามันผสมกันไปได้

 

เอออ บอกไว้อีกอย่างว่า เวลาผมลงสี ผมเป็นคนไม่ลงสีคลุมบรรยากาศทั้งภาพแล้วค่อยๆ ทำเป็น layerๆ ไป(เพราะทำไม่เป็น 55555) แต่จะลงสีให้ครบทีละ object ทีละส่วน ไปเรื่อยๆจนครบทั้งภาพ  …อีกเรื่องคือบางคนอาจจะค่อยๆลงสีฉาบไปเรื่อยๆจนเข้ม แต่ของผมจะใช้สีเข้มๆปาดทีเดียวไปเลย(พอมันแห้งแล้วอ่อนลงก็ปาดตกแต่งอีกครั้ง)  อันนี้แล้วแต่คนถนัดนะครับ ผมแค่บอกวิธีการเฉยๆ เพราะแบบนี้มันเหมาะกับผมที่ออกวาดนอกสถานที่บ่อยๆมากกว่า  ไม่ได้บอกว่าแบบไหนถูกแบบไหนผิดนะจ๊ะ

14a

รอให้น้ำบนกระดาษเกือบแห้ง อย่าเพิ่งลงตอนน้ำยังชุ่มอยู่ แล้วก็อย่ารอนานจนน้ำแห้งไปหมดแล้ว
ผมเริ่มลง Indigo ไปในส่วนพื้นที่ใต้ชั้นวางของ แล้วใช้ Vandyke Brown(น้ำตาลเข้ม) กับ Burnt Sienna(น้ำตาลออกส้มๆ) แตะเบาๆในส่วนล่างลงมา เกลี่ยๆให้สีกลืนกันไปบางส่วน และในส่วนพื้นตรงกลางภาพซึ่งเป็นส่วนที่มีแสงลง (ดูจากภาพตัวอย่างนะ) ก็ปาดพู่กันเอาสีออกไปบ้าง เพื่อให้สว่างกว่าพื้นส่วนอื่น

 

ระหว่างรอพื้นแห้ง เดี๋ยวมาลงสีไอคุณเพื่อนผมกันก่อน

15a

มาแบบเป็นขั้นเป็นตอน 5555

อ่ะ ไล่จากซ้ายไปขวา ลองดูแล้วทำตามนะอันนี้ ไม่ยากๆ

  1. เนื่องจากแสงมาจากด้านหลัง ฉะนั้นด้านหน้าเลยต้องมีเงา เสื้อที่เราเห็นขาวๆก็เลยไม่ขาวอีกต่อไป เวลาลงเงาที่สิ่งของผมมักจะใช้สีม่วง –ม่วงนะ ไม่ใช่เทาหรือดำ ซึ่งก็ไม่ใช่ม่วงที่ผสมเสร็จบนถาดสี หรือม่วงที่บีบมาจากหลอดเลย(เรื่องมากจริงๆ) แต่สีม่วงนี้ เราจะผสมมันบนกระดาษครับ ใครใช้กระดาษบางๆอดทำ สม
  2. เอาพู่กันแตะน้ำแล้วแตะที่สีน้ำเงิน (Cobalt Blue) จากนั้นก็ลงไปตรงส่วนเสื้อ เว้นขาวให้มีส่วนที่แสง reflect มานิดนึง จากนั้นระหว่างที่สีน้ำเงินยังไม่แห้ง ก็แตะสีแดง (Brown Madder) แบบไม่ต้องชุ่มน้ำมาก ไม่งั้นเดี๋ยวลงไปแล้วเป็นด่าง —นั่นแหละ ลงสีแดงไปแล้วเกลี่ยๆให้สีผสมกันในกระดาษ ตามภาพ
  3. ระหว่างรอเสื้อแห้ง ก็แวะมาลงสีไวน์หน่อย ไวน์ที่เพื่อนกินเป็นไวน์แดง ก็เลยลงสีแดง จบ (แค่นี้บอกทำไม 5555) —— ล้อเล่นๆ ในตัวสีแดงของไวน์เอง เราก็ใช้เทคนิคแบบเมื่อกี๊ แตะม่วง(ปริมาณน้อยๆ)ลงไปตอนที่สีแดงใกล้แห้ง ให้ไวน์ดูมีมิติมากขึ้น
  4. จากนั้นก็มาลงสีเนื้อตัวกัน สีเนื้อนี่ผมผสมเอาจาก แดง+ส้มนิดๆแล้ว+น้ำไปเยอะๆแล้วก็ลงบางๆไปก่อนชั้นแรก16a
  5. ตรงส่วนหัว, แขนนี่แห้งละ เลยลงเคลือบอีกชั้น ด้วยสีเดิม ที่เข้มกว่าเดิมนิดนึง คราวนี้ปาดแห้งๆ ตรงส่วนที่เป็นมีเงา แสงไปไม่ถึง
  6. เสื้อแห้งละ ก็ลงรายละเอียดลายเสื้อ ใช้สีIndigo ปาดแห้ง ทำเป็นลายจนครบทั้งตัว
  7. สังเกตตรงตัวเสื้อซ้ายล่างนั่นแมะ นั่นคือลงพู่กันแห้งไปในส่วนที่กระดาษยังไม่แห้งดี มันจะออกฟู่ๆแบบนั้นแหละ —ที่เหลือก็เก็บรายละเอียดแสงเงาอีกหน่อย (พอสีแห้งมันจะอ่อนลงนิดนึง)

 

หมดแล้วครับ เทคนิคการลงสีน้ำของผม 5555555555555
มันก็มีเท่านี้แหละคุณ จะบอกว่าสีน้ำอ่ะ มันไม่ยากเกินไปกว่ากล่องของมันหรอก

ลองทำดูบ่อยๆ คุณจะชิน และรักมันไปไม่รู้ตัว

 

อ่ะๆ ไปลงสีส่วนอื่นกันต่อ

17a

นี่สภาพรวมๆตอนนี้ แถมลงสีโต๊ะด้วย Burnt Sienna + Vandyke Brown

 

18a

เราเขยิบไปลงสีชายหนุ่มทางด้านขวากับโต๊ะ เก้าอี้กันหน่อย สีที่ใช้ก็ดูจากภาพตัวอย่างแล้วผสมๆตามเอา

  • ดูการลงสีเบาะเก้าอี้ ตรงส่วนที่โดนแสง(ด้านบน)ก็จะสีอ่อนกว่า ส่วนล่างลงมาก็สีเข้ม โดยทั้งหมดนี้คือสีเดียวกัน
  • ข้าวของบนโต๊ะก็ลงสีน้อยๆบางๆไปก่อน

 

19a

พอลงขั้นตอนที่แล้วไป ก็รอให้แห้งซักพักแล้ว ลงเงาซ้ำอีกนิด ให้แสงเงาคมชัดกว่าเดิม

ทางออกที่ 1

มี Sketcher หลายๆ คน เลือกที่จะเขียนเส้นเยอะๆ แล้วลงสีเฉพาะจุดเป็นอันจบงาน
เพื่อนๆ ที่สนใจจะไปเวย์นั้น ก็อาจจะพอแค่นี้ก็ได้  เย้

สำหรับคนที่ไปกันต่อ ตามมาๆๆ

20a

ขั้นตอนต่อมาฮะ เติมเงาที่พื้น เพื่อให้ของที่อยู่บนพื้นเช่น เก้าอี้ โต๊ะ เสา ดูไม่ลอย สีที่ใช้ก็เป็นพวกน้ำเงินผสมแดงนิดๆ ปาดแห้ง (อันนี้ผสมมาจากถาดแล้วค่อยลง เป็นคนละเทคนิคกับที่ลงคนทางซ้ายตอนแรกนะ)

จากนั้นก็ลงสีชั้นวางและเสาของด้วยคู่หู  Burnt Sienna + Vandyke Brown

ส่วนป้ายด้านซ้าย ที่ในรูปตัวอย่างเป็นสีดำก็ใช้ Indigo ครับ ถ้าใช้ดำเลย จะดูหนักไปนะ

 

21a

อ่ะ ลงสีหนังสือ กรอบรูป ของจิปาถะทั้งหลาย

ตอนที่เราเขียนพวกเนี้ย เราก็เขียนเส้นนัวๆไปแล้วใช่มะ เวลาลงสีก็เช่นกันครับ ไม่แนะนำให้ลงสีหนังสือทีละเล่มๆ ปาดๆมั่วๆกันไปเลยเนี่ยแหละ 555555
ถามว่า แล้วจะให้ใช้สีอะไรมั่งล่ะฟะ!?

เวลาลงสีภาพส่วนใหญ่ของผม มีหลักการง่ายๆ แค่นี้ครับว่า ในรูปต้องมีสีแดง-เหลือง-น้ำเงิน ถึงแม้ไม่ใช่สีแดง-เหลือง-น้ำเงินเป๊ะๆ แต่เป็นส้ม-แดงอ่อน-ม่วง ไรงี้ก็ยังพอโอเค (อนึ่ง มันเป็นเรื่องของการเลือกคู่สีที่ใช้ในงานอย่างนึง ค่อนข้างเป็นศาสตร์ขั้นสูงหน่อยๆ)

แดง-เหลือง-น้ำเงิน เพื่ออะไร?
อันนี้เป็นความชอบส่วนตัวนะ ผมว่าการมีสามสีนี้อยู่ในภาพ จะช่วยให้ภาพมีความสดใสมากขึ้น มันจะค่อนข้างกระชากอารมณ์จากโทนสีเข้มๆอย่างน้ำตาล-น้ำเงิน อย่างภาพที่ทำอยู่ ขึ้นมาได้เยอะเลยทีเดียว

ทีนี้ ก็อย่างที่บอกไป ภาพเราตอนแรกมันเป็นโทนน้ำตาล-น้ำเงินเป็นหลักใช่มั้ยฮะ ผมก็เลยแซมสีแดง-เหลือง-ส้มไปตรงกองหนังสือ, รูปภาพนั่นแหละ

 

ข้อสังเกตเล็กๆ

  • แม้แต่จานบนโต๊ะก็ยังมีเงา

22a

ลงสีผนัง จากภาพตัวอย่างผนังจะสีออกครีมๆ สีที่ใช้ก็เลยเป็น Burnt Sienna ผสมน้ำเยอะๆ แล้วอาจจะแซมสีแดงหรือน้ำตาลเข้มไปนิดหน่อย

ลง wash ขั้นแรก ให้น้ำหนักตรงส่วนที่จะมีเงามากกว่าส่วนที่ไม่โดนเงาหน่อย(ดูจากภาพตัวอย่าง)
พอสีแห้ง ก็ค่อยลงเงาด้วยสีออกม่วงๆเหมือนเดิม กับใส่รายละเอียดตรงผนังส่วนที่เป็นอิฐโชว์แนวนะ

 

ไปๆมาๆนี่เราลงสีไปกว่า 70% ของภาพแล้วนะเนี่ย !!!!

23a

มาลงสีส่วนฝ้าเพดานต่อ อีกนิดๆ จะเสร็จละ
เราลง wash ไปก่อนรอบนึงด้วย Burnt Sienna แล้วววว เอาทิชชู่ขุดเร็วๆตรงส่วนที่เป็นโคมไฟให้ effect เหมือนเป็นลำแสง(ตามภาพน่ะแหละ)

จากนั้นพอสีชั้นแรกแห้งแล้วก็ค่อยๆลงน้ำหนักแสงเงาอีกที

24a

พอลงสีฝ้าเสร็จ ผมก็ว่า พอละ เหนื่อย 55555555 ที่เหลือก็เว้นพื้นที่ให้จินตนาการโลดแล่นบ้าง 55555555555555
ถึงจุดนี้ ขั้นตอนการลงสีน้ำเป็นอันสมบูรณ์ฮะ ยินดีกับทุกท่านด้วยที่มาถึงจุดนี้

แต่!!!!!!!!!! ภาพนี้ยังไม่จบเท่านั้นครับ


5.เก็บรายละเอียด

ในขั้นตอนนี้ เรียกว่าเป็นส่วนหยุมหยิมมากๆ เมื่อเทียบกับขั้นตอนต่างๆที่แล้วมาฮะ แต่ที่ว่าหยุมหยิมก็ไม่ใช่ว่าไม่จำเป็นจะต้องทำนะครับ ขั้นตอนนี้จะทำให้ภาพเราสมบูรณ์ขึ้น น่ารักขึ้นได้อีกเป็นกองเลย

25a

เขียนโลโก้ร้าน

อย่างที่บอกไว้ตั้งแต่แรกๆ เลยว่า ผมเผื่อที่หน้ากระดาษไว้สำหรับเขียนอะไรบางอย่าง เช่น รายละเอียดของร้าน (บางคนอาจเขียนแผนที่) รสชาติกาแฟ-ชาที่นั่นเป็นยังไง อะไรประมาณนี้ คือถ้าไม่มีก็ไม่เป็นไร แต่ถ้ามี ก็จะเพิ่มเรื่องราวให้กับงานเราได้อย่างมากทีเดียว

 

26a

กระดานดำ/ Chalk Art

สุดท้าย เก็บรายละเอียดป้ายในร้านด้วยการใช้มิลค์กี้เขียนบนส่วนที่เป็นป้ายที่เราลงสีเข้มๆไว้แล้ว

 

 

FINALLYYYYYY!!!!!!

Dialogue

อันนี้ไปสแกนมา สีเพี้ยนไปหน่อย

 

โห้ยยยยยยยยยยยยยยยย จบแล้วววววววววววววววว ว.แหวนล้านตัววววววววววววว
กับคอลัมน์แรก หลายคนอาจจะสงสัยว่าทำไมครั้งแรกถึงมาสอนวาดร้านกาแฟ

เราว่าร้านกาแฟเป็นอะไรที่คนทั่วๆไปเข้าถึงได้ง่ายกว่าตึกรามบ้านช่อง หรือสถาปัตยกรรม อย่างวัดหรืออาคารโมเดิร์นๆนะ ถ้ายังไงครั้งหน้า อยากให้ทำ How to Sketch อะไรก็คอมเม้นมาบอกกันได้นะจ๊ะ

 

เหนือสิ่งอื่นใดถ้าคุณผู้อ่านมีคำถามในขั้นตอนไหน ก็ถามมาได้เช่นกันนะ
ถามๆๆๆๆๆ เข้ามาได้เลยคุณ และหวังเป็นอย่างยิ่งว่าคุณๆ จะได้ประโยชน์จาก How To ที่เราเขียนมาอย่างยืดยาวว

สุดท้าย
ขอบคุณที่อ่านกันมาถึงตรงนี้ครับ 🙂

หากอ่านแล้วถูกใจชอบใจ ฝากกดแชร์ด้วยนะครับ ขอบคุณครับ \( - 3-)/
โพสตอนนี้อยู่ในหมวด How to Sketch และมี tag ดังนี้ , , , , , , , , , , โพสเมื่อวันที่ .
Louis

สถาปนิกตัวเล็กๆคนนึง เชื่อว่าทุกคนสามารถวาดรูปให้ดีได้ เพียงแค่ชอบมันเท่านั้นเอง

เว็บไซต์ : https://www.facebook.com/lllouissketcher